สุขภาพ
น้ำท่วมกรุงเทพฯ
ในอดีต

บทความสุขภาพ
สุขภาพดีพระพุทธเจ้า
ดูแลสุขภาพคิดบวก ว.วชิรเมธี
อาหารสุขภาพวิธีลดมันบนใบหน้า
อาหารเสริมกินจืดยืดชีวิต
สมุนไพรกรดไหลย้อน


สมุนไพรไทยสมุนไพร
+กล้วยหอม
+
อินทผลัม 
+
เกาลัด
+
กระวาน
+มะขาม
  สุขภาพ
สุขภาพดีบทความสุขภาพ
ลดกินแป้ง ลดสิว
+กล้ามท้องที่เซ็กซี่
+ Article Health
หนังสือสุขภาพ
+Rema Books 

บทความสุขภาพ
+น้ำกระเจี๊ยบ ช่วย
ลดไขมันในเลือด
+สารคลอโรฟิลด์
มีประโยชน์อย่างไร
+โยคะลดต้นขา 
กระชับสะโพก

+วิธีขจัดเซลลูไลท์ 
+ดอกอัญชันมีสาร
ต้านอนุมูลอิสระ 

+ผักผลไม้5ธาตุ
+อาหารเพื่อฟันสวย
+มะระจีนต้านมะเร็ง
เต้านม

+นอนกรนส่งผลต่อ
สมอง
 

 

 

 

 

 

 

 

 


บทความสุขภาพ อาหารสุขภาพ เพื่อสุขภาพดีดี
Custom Search

น้ำท่วมกรุงเทพฯในอดีต


น้ำท่วมกรุงเทพฯในอดีตจากรัชกาลที่ 1จนถึงปัจจุบัน
ลักษณะทางกายภาพของกรุงเทพฯ ที่เป็นพื้นที่ราบลุ่มภาคกลางริมฝั่งแม่น้ำ
เจ้าพระยา และเป็นบริเวณที่ถูกน้ำทะเลหนุน เป็นเมืองที่ตั้งอยู่ในจุดที่มีร่อง
มรสุมพาดผ่าน ทำให้นับตั้งแต่ตั้งเมืองบางกอกหรือกรุงเทพมหานครขึ้นเป็น
เมืองหลวงแห่งสยามประเทศเมื่อ 200 กว่าปีมาแล้ว กรุงเทพฯได้ผ่านเหตุ
การณ์น้ำท่วมมาหลายครั้งหลายครา ทั้งหมดนี้ล้วนแต่เป็นปัจจัยที่ส่งเสริม
ให้กรุงเทพฯมีลักษณะของความเป็น“เมืองน้ำ” จนสมญาว่า “เวนิสตะวัน
ออก”  รวมภาพน้ำท่วมในอดีต

เมื่อบ้านเมืองเจริญรุ่งเรืองทางวัตถุ ผู้คนหันไปเดินตามวิถีคนตะวันตก ลืมวิถี
ดั้งเดิมของปู่ย่าตายายจนสิ้น  วิถีชีวิตของชาวกรุงก็ค่อยๆเปลี่ยนไป เปลี่ยน
จากวิถีเมืองน้ำมาเป็นเมืองคอนกรีต ทำให้ช่องทางระบายที่มีอยู่เดิม ที่เป็น
ห้วย หนอง คลอง บึง มิได้เก็บกักน้ำเหมือนเคย เหตุการณ์น้ำท่วมกรุงเทพฯ
จึงเกิดขึ้นต่อมาเรื่อยๆ และมีความแตกต่างกันออกไปตามยุคสมัย

สำหรับเหตุน้ำท่วมใหญ่ในกรุงเทพฯนั้น จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ระบุว่า
ได้เกิดขึ้นในทุกรัชกาล โดยมีการบันทึกเหตุการณ์น้ำท่วมกรุงเทพฯครั้งแรก
ในสมัยพระปฐมบรมราชจักรีวงศ์ ได้แก่

สมัยรัชกาลที่ 1
:พ.ศ. 2328 ระดับน้ำที่ท้องสนามหลวงสูงถึง 8 ศอก
10 นิ้ว วัดปริมาณน้ำภายในพระบรมมหาราชวังบริเวณพื้นท้องพระโรงพระ
ที่นั่งจักรพรรดิพิมานได้ถึง 4 ศอก 8 นิ้ว
สมัยรัชกาลที่ 2:วันที่ 28 ต.ค. 2362 ส่งผลให้เกิดปัญหาข้าวยาก
หมากแพง
สมัยรัชกาลที่ 3 : วันที่ 4 พ.ย. 2374 น้ำท่วมกรุงเทพทั่วพระนคร และ
มาก
กว่าปี 2328
สมัยรัชกาลที่ 4 : เกิดน้ำท่วมใหญ่ 2 ครั้ง วันที่ 25 พ.ย. 2402 และ
วันที่ 1 พ.ย. 2410
สมัยรัชกาลที่ 5 : วันที่ 13 พ.ย. 2422 น้ำท่วมสูงถึงขอบประตูพิมาน
ไชยศรี(ประตูทิศเหนือ พระบรมมหาราชวัง
สมัยรัชกาลที่ 6 : พ.ศ. 2460 น้ำท่วมไปถึงลานพระบรมรูปทรงม้า ถึง
ขั้นมีการแข่งเรือได้
สมัยรัชกาลที่ 8 : เกิดน้ำท่วมนานถึง 2 เดือน ปริมาณน้ำมากกว่าเมื่อปี
2460 เกือบเท่าตัว และในปี 2485 ตั้งแต่ปลายเดือนกันยายน น้ำท่วม
บริเวณลานพระบรมรูปทรงม้า สูงถึง 1.50 ม. และท่วมนานถึง 3 เดือน
รวมถึงพื้นที่สำคัญๆอีกหลายแห่งเช่น สถานีรถไฟหัวลำโพง ถ.เยาวราช
อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย ภูเขาทอง ถ.ราชดำเนิน อนุสาวรย์ชัยสมรภูมิ
พระที่นั่งอนันตสมาคม เป็นต้น นับเป็นเหตุการณ์น้ำท่วมที่รุนแรงที่สุดใน
ประวัติศาสตร์ ก่อนที่จะมีการสร้างเขื่อนขนาดใหญ่อย่างเขื่อนภูมิพล และ
เขื่อนสิริกิติ์ เพื่อมากักเก็บน้ำ

รัชกาลปัจจุบัน น้ำท่วมยังคงเป็นภัยทางธรรมชาติ ซึ่งถึงแม้ว่าจะระดมกำลัง
และหาวิธีสู้กับน้ำ แต่อย่างไรก็ตาม น้ำยังคงเต็มพื้นที่กรุงเทพมหานครอย่าง
ต่อเนื่อง ภัยครั้งนี้ยากหลีกเลี่ยง

ในพ.ศ.2518 : พายุดีเปรสชั่นได้พาดผ่านตอนบนลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา
ทำให้มีปริมาณน้ำสูงทางภาคกลางตอนบน จนเป็นเหตุให้น้ำไหลทะลัก
เข้าท่วมกรุงเทพฯ
พ.ศ.2521 : พายุลูกใหญ่ 2 ลูก คือ "เบส" และ "คิท" ได้พาดผ่าน
พื้นที่ตอนบนลุ่มน้ำปริมาณสูง รวมไปถึงปริมาณน้ำจากแม่น้ำป่าสักไหล
บ่าเข้าท่วมเป็นจำนวนมาก ทำให้ด้านตะวันออกของกรุงเทพฯถูกน้ำท่วม
ไปโดยปริยาย
พ.ศ.2523 : ปริมาณน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยา ทวีระดับความสูงขึ้นเรื่อย ๆ
จนที่สะพานสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าฯ 2.00 ม. ระดับน้ำสูงกว่าระดับน้ำ
ทะเลถึง 2 ม. ประกอบกับมีฝนตกในพื้นที่กรุงเทพฯ ถึง 4 วัน 4 คืน
ทำให้เกิดน้ำท่วมขังในหลายพื้นที่
พ.ศ.2526 : พายุหลายลูกพัดผ่านเข้าภาคเหนือ และภาคกลางในช่วง
ก.ย. - ต.ค. ทำให้น้ำท่วมในครั้งนี้ถือว่ารุนแรงมากอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งวัด
ปริมาณฝนตลอดทั้งปีได้ 2,119 มม. จากค่าฝนเกณฑ์เฉลี่ยอยู่ที่
1,200 มม. ส่งผลให้พื้นที่ส่วนใหญ่ของกรุงเทพฯ-ปริมณฑล น้ำท่วม
เป็นเวลานานที่สุดถึง 4 เดือน

พ.ศ.2529 : ฝนตกหนักติดต่อกันหลายวันที่กรุงเทพฯในหลายพื้นที่
ทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน โดยเฉพาะที่เขตราษฎร์บูรณะ ถนนวิภาวดี
ตั้งแต่ช่วงสะพานลอยเกษตรเข้าไป ย่านถ.สุขุมวิท ย่านรามคำแหง  
ย่านบางนา ทำให้การจราจรติดขัดมาก แต่อย่างไรก็ดีในครั้งนั้นอยู่ใน
ช่วงที่น้ำทะเลไม่ได้หนุน ทำให้มีการระบายน้ำออกเป็นไปอย่างรวดเร็ว

พ.ศ.2533 : เดือนตุลาคม พายุโซนร้อน "อีรา" และ "โลล่า" ได้
พัดผ่านภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และภาคกลาง
ทำให้ฝนตกหนักที่กรุงเทพฯถึง 617 มม. ส่งผลให้เกิดน้ำท่วมขัง
สูงประมาณ 30-60 ซม. ในหลายพื้นที่ ทั้งบริเวณเขตมีนบุรี,
หนองจอก, บางเขน, ดอนเมือง, บางกะปิ, พระโขนง, ลาดกระบัง,
ลาดพร้าว, บึงกุ่ม และปริมณฑล โดยน้ำท่วมขังเป็นเวลานานกว่า
1 เดือน

พ.ศ.2537 : พายุฝนฤดูร้อน ถล่มกรุงเทพฯและปริมณฑล เดือน
พฤษภาคม โดยเฉลี่ยในทั่วเขตกรุงเทพฯมีปริมาณน้ำฝน 200 มม.
ถือว่ามากที่สุดในประวัติการณ์ จนเรียกได้ว่าเป็น “ฝนพันปี” ทำ
ให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันที่บริเวณถ.จันทร์ เขตยานนาวา ถ.พหลโยธิน
ตั้งแต่ย่านสะพานควาย ถ.ประดิพัทธ์ สวนจตุจักร ถึงอนุสาวรีย์ชัย
สมรภูมิ ซ.สุทธิสารตลอดทั้งซอย รวมไปถึงถ.วิภาวดีรังสิตและรัชดา
ภิเษก ถ.ลาดพร้าว ถ.สุขุมวิท ตั้งแต่ย่านพระโขนง จนถึงอ.สำโรง
สมุทรปราการ ส่วนถ.สาธร โดยเฉพาะซ.เซ็นต์หลุยส์ มีน้ำท่วมขัง
มากที่สุดประมาณ 50 ซม. ส่งผลให้การจราจรเป็นอัมพาต เกิดไฟ
ฟ้าดับหลายจุด สร้างความเดือดร้อนทั่วทุกพื้นที่

พ.ศ.2538 : เกิดน้ำท่วมใหญ่อีกครั้ง โดยพายุหลายลูกได้พัดผ่าน
ทั้งภาคเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยเฉพาะ
พายุโอลิส ที่ถล่มกระหน่ำทำให้เกิดในตกหนักอย่างต่อเนื่องหลาย
วัน วัดปริมาณน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาเมื่อวันที่เมื่อวันที่ 27 ต.ค.
ได้สูงถึง 2.27 ม. เหนือระดับน้ำทะเลปานกลาง ซึ่งถือว่าสูงสุดเป็น
ประวัติการณ์ (เท่าน้ำท่วมปี 2485) ทำให้คันกั้นน้ำริมสองฝั่งแม่น้ำ
เจ้าพระยาถูกน้ำทะลักเข้าท่วมพื้นที่อย่างหนัก โดยเฉพาะอย่างยิ่งฝั่ง
ธนบุรีระดับความสูงถึง 1 ม. รวมระยะเวลาน้ำท่วมประมาณ 2 เดือน
การคมนาคมเป็นไปอย่างยากลำบากต้องอาศัยเรือในการเดินทาง
เพราะเกือบจะทั่วทุกพื้นที่กลายเป็นคลองไปหมด อีกทั้งยังมีน้ำเหนือ
หลากเข้าท่วมพื้นที่จังหวัดโดยรอบอีกด้วย

พ.ศ.2539 : มีฝนตกหนักในภาคเหนือ และภาคกลาง ในช่วง พ.ย.
ทำให้ระดับน้ำสูงล้นแนวป้องกันน้ำท่วมเข้าท่วมพื้นที่ริมแม่น้ำฝั่ง
ธนบุรี บริเวณ ถ.จรัญสนิทวงศ์ ถ.เจริญนคร ฝั่งพระนคร บริเวณ
ถ.สามเสน ถ.พระอาทิตย์ ซึ่งน้ำได้ท่วมขังกินระยะเวลานาน 2 เดือน

พ.ศ.2549 : เกิดอุทกภัยใน 47 จังหวัด ทั่วประเทศ ส่งผลให้หลาย
พื้นที่มีสภาพน้ำท่วมขัง ประกอบกับมีการผันน้ำเข้าเก็บกักเอาไว้ใน
พื้นที่ว่างเพื่อบรรเทาปัญหาน้ำ ท่วมโดยเฉพาะพื้นที่การเกษตรใน
หลายจังหวัดภาคกลาง แต่เมื่อจังหวัดนั้นๆไม่สามารถรับนํ้าได้ไหว
นํ้าจึงไหลเข้าท่วมขังที่กรุงเทพฯ เกือบ 1 ม. นานกว่าสัปดาห์

และในพ.ศ.2554 พื้นที่กรุงเทพฯเต็มไปด้วยน้ำ รวมถึงฝั่งธนที่รองรับน้ำ
เนื่องจากเป็นทางผ่านน้ำออกไปเจ้าพระยา  เป็นครั้งที่มีน้ำท่วมครั้งใหญ่
ที่สุดครั้งหนึ่งของกรุงเทพมหานคร

รวมภาพน้ำท่วมในอดีต

บทความสุขภาพ สมุนไพร อาหารสุขภาพ

สุขภาพดี

สุขภาพดีดีหน้าต่างสุขภาพ

+สุขภาพผู้หญิง
+สุขภาพผู้ชาย
+สุขภาพเด็ก
+สุขภาพวัยรุ่น
+ผู้สูงอายุ 

อาหารสุขภาพสถานที่เที่ยวไทย

โรคภัยไข้เจ็บการรักษาโรค
+
วิธีลดถุงใต้ตา+รักษาการนอนกรน
+
นมกับโรคภูมิแพ
ติสต์แตกเสี่ยงโรค
กินเร็วเสี่ยงเบาหวาน


อาหารสุขภาพอาหารสุขภาพ
+เห็ดล้างพิษ
+
ฟักทองผัดไข่
+น้ำมะนาว
+ถั่วเขียวต้ม
+ แอปเปิ้ลบำรุง
+สาหร่ายทะเล
+กล้วยหอมงาดำ 
+กล้วยน้ำหว้าโรยงา

สุขภาพ

อาหารสุขภาพบทความสุขภาพ
+ว่านหางจระเข้
+กินไข่แค่ไหนดี
+Future FOOD 
+กะหล่ำ บล๊อคโคลี ดีกับคุณผู้ชาย
+อัลไซเมอร์

บทความสุขภาพ
+อัลไซเมอร์
+อาหารสตรีวัยทอง 
+ตากแดด30นาที
+ดื่มเหล้าเสี่ยงเส้น
เลือดในสมองแตก

+สรรพคุณทางยา
ของมะระ
 
อาหารบำรุงสายตา