หน้าต่างสุขภาพ



 

Custom Search

 

Idocs Guide to HTMLControl your Emotion



อย่าทิ้งยาหมดอายุ ลงถังขยะหรือแหล่งน้ำ

กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข แนะประชาชนที่เก็บยาที่กินไม่หมด ยาหมดอายุ ยาเหลือ
ใช้ หรือยาไม่ใช้แล้ว ไม่ควรทิ้งในถังขยะทั่วไปหรือแหล่งน้ำ เหตุยาบางประเภทมีฤทธิ์ตก
ค้างยาวนานในสิ่งแวดล้อมส่งผลต่อระบบนิเวศและสุขภาพในระยะยาว

อย่าทิ้งยาหมดอายุ ลงถังขยะหรือแหล่งน้ำ

กรมอนามัย เปิดเผยว่ายาของประชาชนที่เป็นผู้ป่วย ได้รับมาจากโรงพยาบาลหรือสถานบริการ
การสาธารณสุขแล้วกินยาไม่ครบตามแพทย์สั่งรวมถึงยาบางชนิดที่ประชาชนซื้อหามาจากร้าน
ขายยาทั่วไปแล้วหมดอายุ เหลือใช้ และสะสมเป็นเวลานานจนมีจำนวนมากขึ้น บางรายนำไปทิ้ง
ลงถังขยะ ,ทิ้งลงแหล่งน้ำหรือฝังดิน ซึ่งพบว่ายาบางประเภทส่งผลต่อสิ่งแวดล้อม

Sticker line

ยาจะแบ่งเป็น 2 ประเภท
โดยทั่วไปยาจะแบ่งเป็น 2 ประเภทหลัก ๆ คือ ยาทั่วไป ได้แก่ ยาสามัญประจำบ้าน จำพวกยา
แก้ปวด ยาลดไข้ และยาที่มีฤทธิ์ตกค้างยาวนานในสิ่งแวดล้อม เช่น ยาปฏิชีวนะ ยารักษาโรค
ความดันโลหิต เบาหวาน ยารักษาอาการโรคซึมเศร้า รวมทั้ง ฮอร์โมนหรือยาคุมกำเนิด ซึ่งยา
ประเภทหลังนี้ จะมีคุณสมบัติที่คงสภาพ ทนทานโดยฤทธิ์ของยาจะไม่ถูกทำลายด้วยระบบกรอง
น้ำ ระบบผลิตน้ำประปา หรือระบบบำบัดน้ำเสีย ดังนั้น ยาประเภทดังกล่าว จึงปนเปื้อนในแหล่ง
น้ำ แล้วมีโอกาสย้อนกลับเข้าสู่ระบบผลิตน้ำดื่มและน้ำประปา สำหรับการอุปโภค บริโภคของ
ประชาชนในที่สุด ซึ่งในระยะยาวการรับสัมผัสยาที่ปนเปื้อนในสิ่งแวดล้อมอาจส่งผลต่อสุขภาพ
ไม่ทางใดก็ทางหนึ่งประชาชนควรหลีกเลี่ยงการทิ้งยาลงในสิ่งแวดล้อมโดยตรง


อย่าทิ้งยาหมดอายุ ลงถังขยะหรือแหล่งน้ำ

วิธีกำจัดยาหมดอายุ
ประชาชนควรตระหนักและร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐในพื้นที่ในการส่งกลับยาไปกำจัด ซึ่ง
ทางภาครัฐ ทั้งโรงพยาบาล โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล และหน่วยงานราชการส่วน
ท้องถิ่น ต้องร่วมกันหาทางจัดการ และควรกำหนดจุดตั้งกล่องหรือภาชนะรวบรวมยาจาก
ประชาชน เพื่อรวบรวมนำไปกำจัดอย่างถูกต้อง

ซึ่งหากเป็นยาที่มีฤทธิ์ตกค้างยาวนานในสิ่งแวดล้อม ต้องนำไปกำจัดโดยวิธีเผาที่อุณหภูมิไม่
ต่ำกว่า 1,200 องศาเซลเซียส ส่วนยาทั่วไปประเภทอื่นสามารถนำไปกำจัดที่อุณหภูมิไม่ต่ำ
กว่า 850 องศาเซลเซียส ก่อนนำเถ้าไปฝังกลบตามหลักสุขาภิบาลต่อไป

ข้อควรระวังบรรจุภัณฑ์ประเภทยาที่อัดความดัน จำพวก ยาพ่นรักษาหอบหืด ไม่ควรนำไป
เผาไฟ เพราะอาจทำให้เกิดการระเบิดได้

ทั้งนี้ยาสำหรับผู้ป่วยเรื้อรัง ผู้ป่วยต้องมีวินัยในการกินยาตามแพทย์สั่ง และต้องนำยาส่วนที่
เหลือไปให้แพทย์ทำการตรวจสอบปริมาณที่เหลือทุกครั้งที่แพทย์นัด เพื่อเป็นการลดการตก
ค้าง และสะสมของยาไว้ ที่บ้านและป้องกันไม่ให้มียาเหลือทิ้งลงสู่สิ่งแวดล้อม

ข้อควรระวัง คือห้ามมอบยาที่เหลือของเราหรือส่งต่อให้ผู้อื่นโดยเด็ดขาด เนื่องจากอาการ
ป่วยของแต่ละบุคคลมีความแตกต่างกัน

ข้อมูลจาก สสส.
28616


สุขภาพผู้หญิง สุขภาพผู้ชาย สุขภาพเด็ก สุขภาพวัยรุ่น ผู้สูงอายุ การรักษาโรค
ลดน้ำหนัก ออกกำลังกาย ผิว ดวงตา ผม ทำงาน การนอน พระพุทธศาสนา





Copyright2010©remahealth.com All rights reserved by RMWD