Custom Search


รังสียูวีเสี่ยงต้อเนื้อ-ต้อลม

สธ.เตือนรังสียูวีอันตรายเสี่ยงโรคกระจกตาอักเสบ ต้อเนื้อ ต้อลมและต้อกระจก ผิวหนังไหม้เกรียม
แดดช่วงเวลา 10.00-14.00น. ควรหลีกเลี่ยง และควรสวมหมวกปีกกว้าง แว่นกันแดดเื่พื่อถนอม
สายตา

รังสียูวีเสี่ยงต้อเนื้อ-ต้อลม

นพ.สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) และโฆษก สธ. กล่าวว่า
รังสีอัลตราไวโอเลต หรือรังสียูวีในแสงแดด มีทั้งคุณและโทษต่อสุขภาพ ช่วยสังเคราะห์วิตามิน
ดีที่ผิวหนัง และมีส่วนสำคัญในการสร้างเสริมเนื้อเยื่อกระดูกผลเสียคือทำอันตรายต่อผิวหนัง อาจ
ไหม้เกรียม เหี่ยวย่น เป็นอันตรายต่อดวงตา หากได้รับรังสียูวีโดยที่ไม่มีอุปกรณ์ป้องกัน

โดยผลกระทบระยะสั้นที่เกิดขึ้นคือกระจกตาอักเสบ มีอาการแสบตา น้ำตาไหล แพ้แสง ตาแดง ระยะ
ยาวเช่น ต้อเนื้อ ต้อลมหรือ ต้อกระจก

เพื่อป้องกันดวงตาให้ปลอดภัยจากรังสียูวี ผู้ที่ต้องทำงานกลางแจ้ง เช่น เกษตรกร ชาวสวน ช่างก่อ
สร้าง ชาวประมง ผู้ขับขี่รถในช่วงแดดจัด รวมทั้งผู้ที่อาศัยใกล้แม่น้ำ ทะเลมีแสงแดดสะท้อนจากผิว
น้ำ ควรหลีกเลี่ยงอยู่กลางแดด โดยเฉพาะในช่วงเวลา 10.00 น.-14.00 น

รังสียูวีเสี่ยงต้อเนื้อ-ต้อลม

ซึ่งมีปริมาณรังสียูวีจะเข้มข้นและเข้มข้นมากที่สุดในช่วงเที่ยงวันถนอมสายตาด้วยการสวมหมวก
ที่มีปีกยื่นออกมาข้างหน้าและแว่นกันแดด โดยเลือกใช้แว่นที่สามารถกรองรังสีอัลตราไวโอเลต
สำหรับคนที่ใส่แว่นสายตาเป็นประจำอยู่แล้ว ก็ถือว่าเป็นการป้องกันรังสีได้ในระดับหนึ่ง

นอกจากนี้ ควรทาผลิตภัณฑ์กันแดด ในทุกๆจุดที่ไม่ได้อยู่ใต้เสื้อผ้าอย่างน้อย 15 - 30 นาทีก่อน
ออกไปเจอแสงแดด แม้ว่าจะเป็นวันที่มีเมฆมากก็ควรทาและทาทุกๆ 2 ชั่วโมง ตามคำแนะนำบน
ฉลากหรือตามที่ต้องการ โดยเฉพาะหลังจากการว่ายน้ำหรือเหงื่อออก สวมใส่เสื้อผ้าป้องกัน เป็นต้น

ขอขอบคุณข้อมูลจาก:สสส.
23316
บทความโรคภัยไข้เจ็บ อาหารชะลอโรคจอประสาทตาเสื่อม
อาการเห็นแสงวาบในลูกตา วิธีลดอาการตาล้า วิธีแก้ตากระตุก