Custom Search


กินสมาธิ ฝึกดีมีผอม

การฝึกสมาธิ ในขณะกินอาหาร หรือกินสมาธิ สำหรับเมืองไทยยังไม่เป็นที่นิยมนัก แต่ในสหรัฐ
และญี่ปุ่นกำลังได้รับความนิยมอย่างมาก เพราะนอกจากจะช่วยให้ผู้ฝึกมีสติ รับรู้ถึงความต้องการ
ของร่างกายและจิตใจแล้ว ผลพลอยได้คือ ช่วยผ่อนคลายความเครียด ระบบทางเดินอาหารและ
ระบบขับถ่ายทำงานได้ดี เนื่องจากกระเพาะอาหารและลำไส้เล็กไม่ต้องทำงานหนัก เป็นวิธีช่วยลด
ความอ้วนได้อีกทางหนึ่ง

กินสมาธิ ฝึกดีมีผอม

ดร.ฉัตรภา หัตถโกศล อาจารย์ประจำภาควิชาโภชนวิทยา คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัย
มหิดล กล่าวว่า การฝึกสมาธิด้วยการกินต้องมีการฝึกฝน เช่นเดียวกับการทำสมาธิในแบบอื่นๆ
กำหนดลมหายใจรูปแบบเดียวกับการฝึกโยคะ โดยก่อนจะกินอาหารแต่ละครั้งให้ผ่อนคลาย
อารมณ์ เลือกที่นั่งในที่สงบและไกลจากสิ่งรบกวน งดคุยโทรศัพท์มือถือ ดูทีวี หรือฟังวิทยุ
เพื่อที่จะให้ความสนใจอาหารที่วางอยู่ตรงหน้า และวิเคราะห์ถึงคุณค่าและพลังงานที่จะได้รับ
จากอาหารที่กินเข้าไป

การใช้อุปกรณ์การกินที่มีขนาดเล็กจะช่วยให้เราสามารถฝึกให้ร่างกายได้ รับอาหารที่ช้าลง คนญี่ปุ่น
จึงฝึกสมาธิโดยใช้ตะเกียบกินอาหาร แต่เมืองไทยใช้ช้อนโต๊ะ เราซดน้ำแกง น้ำกะทิโดยไม่ได้
พิจารณาอาหารก่อน

กินสมาธิ ฝึกดีมีผอม

นอกจากนี้ เราควรฝึกวางช้อนส้อมเมื่อตักอาหารหนึ่งคำ เพื่อให้ร่างกายได้ผ่อนคลาย จากนั้น
ก็เคี้ยวอาหารอย่างช้าๆ เคี้ยวให้ละเอียด รับรู้และพิจารณารสชาติและคุณค่าของอาหาร โดย
ในแต่ละคำควรจะเคี้ยวประมาณ 15-25 ครั้ง ก่อนที่จะกินคำใหม่  ดร.ฉัตรภา กล่าว

กินสมาธิ ฝึกดีมีผอม กินสมาธิ ฝึกดีมีผอม
และว่าผู้ที่เร่งรีบกินอาหาร เคี้ยวอาหารไม่ละเอียดและกลืนเร็ว จะไม่รับรู้ถึงอาหารที่เข้าสู่ร่างกาย
ทำให้ไม่รู้สึกอิ่ม และต้องการอาหารจำนวนมากโดยไม่จำเป็น ผลที่ตามมาคือ เกิดไขมันสะสมใน
ร่างกาย และกลายเป็นคนอ้วนในเวลาต่อมา

ดร.ฉัตรภา อธิบายเพิ่มเติมว่า แม้หลายคนบอกว่าต้องเร่งรีบกินอาหาร จึงไม่มีเวลาพิจารณาหรือ
ทำสมาธิ
ระหว่างมื้อ แต่เวลาที่เหมาะสมในการกินอาหารแต่ละครั้งควรอยู่ระหว่าง 2030 นาที
และหลังจากมื้ออาหารควรนั่งพัก 35 นาที เพราะจะช่วยให้ระบบย่อยอาหารทำงานได้ดีขึ้น

ถ้ามีเวลาน้อยก็ต้องลดปริมาณอาหารลงด้วย ไม่ควรอัดทุกสิ่งทุกอย่างลงไปในท้องเพราะหิว และ
กรณีที่เราเลือกอาหารไม่ได้ก็ต้องรู้และพิจารณาอาหารในแต่ละมื้อว่าให้ประโยชน์อย่างไรและมื้อ
ต่อไปเราควรกินอะไรเพิ่มเติม เพื่อให้ร่างกายได้รับคุณค่าที่เหมาะสม

การฝึกให้ได้ผลดีก็ต่อเมื่อมีการฝึกฝนอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ ผู้ฝึกจะต้องมีความตั้งใจจริงและ
มีวินัย เช่นนี้แล้วสุขภาพกายและสุขภาพจิตก็จะแข็งแรงและสดใส

ที่มาข้อมูลสสส.
ขอบคุณ ดร.ฉัตรภา หัตถโกศล

วิ่งสมาธิ กายเคลื่อนไหวใจต้องนิ่ง
20514


บทความสุขภาพ สมุนไพร อาหารสุขภาพ