หน้าต่างสุขภาพ



 

Custom Search

 

Idocs Guide to HTMLControl your Emotion

กระเทียม-มะนาวเพิ่มการรับรสเค็มในอาหาร

ในสมุนไพรไทยหลายชนิดมีความเค็มอยู่ในตัวอย่างเช่น กระเทียมและมะนาว เป็นสมุนไพร
ไทยที่ทำให้การรับรสเค็มในอาหารเพิ่มขึ้น นั่นก็หมายถึงว่า สามารถลดโซเดียมในอาหาร
ลงได้ด้วยเช่นกัน

กระเทียม-มะนาวเพิ่มการรับรสเค็มในอาหาร


น.ส.ชุษณา เมฆโหรานักวิจัยสถาบันค้นคว้าและพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร มหาวิทยาลัย
เกษตรศาสตร์ (มก.) เปิดเผยว่า จากการดำเนินโครงการพัฒนาต้นแบบผลิตภัณฑ์
เครื่องปรุงสมุนไพรไทย

Sticker line

กระเทียม-มะนาวเพิ่มการรับรสเค็มในอาหารกระเทียม-มะนาวเพิ่มการรับรสเค็มในอาหาร

สำหรับการเตรียมอาหารลดโซเดียม โดยใช้เทคนิคด้านกลิ่นรสจากสมุนไพรไทย
ภายใต้การสนับสนุนของเครือข่ายลดบริโภคเค็ม เพื่อศึกษาคุณสมบัติด้านกลิ่น รสของ
สมุนไพรไทยต่อการปรับลดปริมาณโซเดียม โดยศึกษากลิ่นรสสมุนไพรไทย 14 ชนิด
ต่อการรับรสเค็มในน้ำซุป ได้แก่ ตะไคร้ ใบมะกรูด ข่า ผักชีฝรั่ง สะระแหน่ โหระพา
พริกขี้หนู กระเทียม พริก มะนาว หอมแดง ผักชี ต้นหอม และขิง

กระเทียม-มะนาวเพิ่มการรับรสเค็มในอาหาร


พบว่ากลิ่นรสของกระเทียมและมะนาวช่วยเพิ่มการรับรสเค็มในน้ำซุปได้ดีขึ้น หมาย
ความว่าแม้จะใส่เกลือในปริมาณน้อยแต่ก็สามารถทำให้รู้สเค็มได้ ส่วนกลิ่นรสของพริก
ผักชีฝรั่ง โหระพา ใบมะกรูด และหอมแดงสามารถเพิ่มการรับรสเค็มได้เล็กน้อย

กระเทียมและมะนาว
หากนำมาใช้ปรุงรสอาหารจะช่วยชูรสเค็มทำให้ลดปริมาณเกลือ
ที่ใช้ในการปรุงอาหารได้เพราะหากใส่กระเทียมหรือมะนาวร่วมด้วยจะทำให้สามารถ
รับรู้รสเค็มได้โดยไม่ต้องใส่เกลือในปริมาณที่มากทำให้คนกินรู้รสเค็มแต่ใช้เกลือไม่
มากซึ่งผลที่ได้น่าจะเกิดจากกลิ่นและรสชาติเฉพาะตัวของสมุนไพรที่ช่วยเสริมการรับ
รสเค็ม
ให้เด่นชัดขึ้น

ขอบคุณข้อมูลจาก MSN
สมุนไพร  สรรพคุณทางยาของกระเทียม เปรียบเทียบเมล็ดเชียกับอาหารชนิดอื่น

111214


สุขภาพผู้หญิง
สุขภาพผู้ชาย สุขภาพเด็ก สุขภาพวัยรุ่น ผู้สูงอายุ FoodHealth
ลดน้ำหนัก ออกกำลังกาย ผิว ดวงตา ผม ทำงาน การนอน พระพุทธศาสนา
การรักษาโรค



Copyright2010©remahealth.com All rights reserved by RMWD