Custom Search


ออกกำลังกายแบบไหนเรียกแอโรบิค

การออกกำลังกายแบบแอโรบิค เป็นการออกกำลังกายที่มีระยะเวลานานพอสมควร มิใช่เป็นการเต้น
แอโรบิกด๊านซ์ เท่านั้น แต่รวมถึง การเดินเร็วๆ  การวิ่งเยาะๆ ว่ายน้ำ ขี่จักรยานฯลฯจัดว่าเป็นการออก
กำลังกาย
แบบแอโรบิกทั้งสิ้น  แต่ที่ดีที่สุดและประหยัดที่สุด คือ การวิ่ง หรือ เดินเร็วๆ  เพราะร่างกายได้
ทำงานทุกส่วน ไม่ต้องอาศัยเครื่องมือ และได้รับอากาศบริสุทธิ์ 

ออกกำลังกายแบบไหนเรียกแอโรบิค

คำว่า Aerobics มาจากรากศัพท์กรีกโบราณที่แปลว่า อากาศกับชีวิต (Air life) ซึ่งแสดงว่า ต้องมีก๊าซออกซิเจน
(Oxygen) มาเกี่ยวข้องด้วยเสมอ จึงหมายถึงความต้องการอากาศของสิ่งมีชีวิตในการดำเนินชีวิตให้อยู่ได้นั่นเอง

ได้มีการให้ความหมายของการออกกำลังกายแบบแอโรบิคไว้โดยหน่วยงาน The American College of Sports  
Medicine (ACSM)  ได้ให้ความหมายว่า  การออกกำลังกายแบบแอโรบิค เป็นกิจกรรมที่มีการใช้กล้ามเนื้อให้ได้ต่อ
เนื่อง และเน้นจังหวะอย่างสม่ำเสมอ(any activity that uses large muscle groups,can be maintained
continuously,and is rhythmic in nature)ซึ่งเป็นวิธีการออกกำลังกายที่ทำให้หัวใจและปอดของมนุษย์มีการทำ
งานมากขึ้น มากกว่าการทำงานในขณะพัก 

วิ่งให้ดี ต้องมีเทคนิค


จากหลักการนี้ทำให้ได้แนวความคิดสำคัญในการออกกำลังกายสมัยใหม่ โดยมีกิจกรรมต่างๆ  ที่จัดว่าเป็นการออกกำลัง
กายแบบแอโรบิค
โดยมีเป้าหมายสำคัญ คือ การเพิ่มและรักษาอัตราการเต้นของหัวใจในช่วงเวลาหนึ่ง 
ออกกำลังกายแบบไหนเรียกแอโรบิคออกกำลังกายแบบไหนเรียกแอโรบิค
ทั้งนี้เพื่อเป็นแนวทางไปสู่การมีสุขภาพอนามัยที่ดีในการออกกำลังกายแบบแอโรบิค ร่างกายจะใช้สารอาหารที่สำคัญ
คือ คาร์โบไฮเดรตชนิดหนึ่ง ที่เรียกว่า “ไกลโคเจน” (Glycogen) ไขมัน (lipid)  และโปรตีน (Protein) เป็น
แหล่งพลังงาน โดยใช้จากคาร์โบไฮเดรตก่อน จากนั้นจึงจะใช้จากไขมัน สังเกตได้จากการวิ่งทางไกลของนักวิ่ง ที่จะต้อง
หายใจทางปาก ทั้งนี้  เพราะร่างกายเริ่มเผาผลาญสารอาหารพวกไขมันให้เกิดพลังงาน จำเป็นต้องใช้ก๊าซออกซิเจนเพิ่ม
มากขึ้น จึงต้องอ้าปากหายใจแรงและลึก เพื่อนำเอาออกซิเจนไปช่วยในการเผาผลาญไขมันให้ได้พลังงานมากที่สุด

การออกกำลังกายแบบแอโรบิค นั้นทำแค่ไหนจึงจะพอดี  ควรทำต่อเนื่องกัน อย่าทำๆ หยุด ๆ และต้องหนักพอ 
และนานพอ  ดังนี้   
1. หนักพอ   คือ ให้ออกกำลังกายให้หนักประมาณ 70 - 75 % ของความสามารถสูงสุดของอัตราการเต้นของหัวใจ
ของแต่ละบุคคล ซึ่งจะดูได้จากการจับชีพจร (ที่ข้อมือหรือที่คอ) ชีพจรต้องเต้นจนถึงขนาดกำหนดตามอายุของแต่ละ
บุคคล (หากอายุมากขึ้น จะมีชีพจรสูงสุดในการทำงานลดลง ) จึงจะถือว่าการออกกำลังกายนั้นเพียงพอ ตัวอย่างเช่น 
ในการคำนวณหาความสามารถสูงสุด = 220 -อายุ  เช่น คนอายุ  25  ปี  มีความสามารถสูงสุด =220 -25
= 195  และ 70 -75  %  ของ 195  = 136  - 140  ครั้ง  ต่อนาที

2. นานพอ 
เมื่อรู้สึกว่าหนักพอแค่ไหนแล้ว  นานพอก็ง่ายขึ้น  คือ เมื่อออกกำลังกายจนชีพจรขึ้นไปถึงระดับที่กำหนด
แล้ว ก็ทำติดต่อกันไปเรื่อยๆ  โดยคงชีพจรไว้อย่างน้อยระดับนี้ เป็นเวลา 15 -20 นาที ก็ใช้ได้ 

ทั้งนี้เพื่อให้ร่างกายได้ใช้ออกซิเจนไปช่วยเผาผลาญให้เกิดพลังงานที่เรียกว่า  แอโรบิค นั่นเอง

30814 ประโยชนของแอโรบิก
บทความสุขภาพ สมุนไพร อาหารสุขภาพ