หน้าต่างสุขภาพ



 

Custom Search

 

Idocs Guide to HTMLControl your Emotion

โภชนาการเพื่อป้องกันและรักษาโรคกระดูกพรุน

การเกิดโรคกระดูกพรุน โรคในคนสูงอายนั้นส่วนหนึ่งเกิดจากปัญหาการกินอาหาร ผู้สูงอายุควรมี
พฤติกรรมการกินอาหารอย่างถูกต้องและเหมาะสมตามหลักโภชนาการ เนื่องจากแคลเซียมเป็น
ส่วนประกอบที่สำคัญในการสร้างเนื้อกระดูกและป้องกันการสูญเสียเนื้อกระดูกการเก็บหรือซ่อม
แซมการสูญเสียกระดูกจะไม่เกิดขึ้นถ้าร่างกายไม่ได้รับแคลเซียมจากอาหารอย่างเพียงพอ 

โภชนาการเพื่อป้องกันและรักษาโรคกระดูกพรุน


โภชนาการเพื่อป้องกันและรักษาโรคกระดูกพรุน ผู้สูงอายุควรบริโภค
อาหารดังนี้

1. ควรบริโภคอาหารที่มีปริมาณแคลเซียมสูง ผู้สูงอายุควรรับประทานอาหาร ที่มีปริมาณ
แคลเซียมสูงเพิ่มขึ้น เพื่อรักษาความความหนาแน่นของเนื้อกระดูกแลป้องกันการเกิดโรคกระดูก
พรุน 


Sticker line

แหล่งอาหารที่มแคลเซียสูง ได้แก่ นมหรือผลิตภัณฑ์จากนมเช่นเนยแข็ง โยเกิร์ต เป็นต้น 
อาหารอื่นๆที่มีแคลเซียมสูงและสอดคล้องกับวิถีชีวิตคนไทย ได้แก่ นมถั่วเหลือง ปลาเล็กปลาน้อย 
ปลาไส้ตัน กุ้งฝอย กะปิ กุ้งแห้ง เต้าหู้ ถั่วเหลือง งาดำ ผักคะน้า มะเขือพวง ใบยอ  เป็นต้น

โภชนาการเพื่อป้องกันและรักษาโรคกระดูกพรุน


ไม่แนะนำให้บริโภคในรูปสารสังเคราะห์ยกเว้นการอยู่ในความดูแลแพทย์ เพราะอาจก่อให้เกิดภาวะ
แคลเซียมในเลือดสูง ทำให้มีอาการปัสสาวะบ่อย คลื่นไส้ อาเจียน มีอาการขาดน้ำ กล้ามเนื้ออ่อน
แรงซึม หมดสติ เกิดนิ่วในไต ผลข้างเคียงที่พบบ่อย คือ  ท้องผูก แน่นท้อง

2. การบริโภคอาหารที่มีวิตามินดี 
วิตามินดีช่วยสร้างโปรตีนในการดูดซึมของแคลเซียมทำให้
การดูดซึมของแคลเซียมเป็นไปโดยปกติและช่วยในการสร้างกระดูกเพิ่มขึ้นในคนสูงอายมีโอกาส
ขาดวิตามินดีค่อนข้างมาก จึงควรสร้างเสริมวิตามินดีจากเมล็ดธัญญาพืชทั้งเปลือก ขนมบัว 
มาการีนและจากแสงแดด  แสงแดดอ่อน ๆ ทุกวันอย่างน้อยวันละ  10-15  นาที/วัน

3งดบริโภคอาหารที่มีโปรตีนจากเนื้อสัตว์จำนวนมาก เนื่องจากสารกลูคากอนที่เกิดจาก
การเผาผลาญจากสารอาหารโปรตีน จะทำให้ร่างกายขับแคลเซียมออกทางปัสสาวะเพิ่มมากขึ้นการ
รับประทานอาหารเหล่านี้จำนวนมากจึงทำให้เกิดการสูญเสียแคลเซียมเพิ่มมากขึ้น

4.การหลีกเลี่ยงหรืองดบริโภคอาหารรสเค็มจัด เนื่องจากอาหารรสเค็มมีโซเดียมเป็นส่วน
ประกอบ เมื่อร่างกายได้รับโซเดียมจะทำให้ร่างกายขับน้ำออกทางปัสสาวะและขับแคลเซียมตาม
ออกมา 

5.การหลีกเลี่ยงหรืองดบริโภคเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของคาเฟอีน เช่นน้ำชา กาแฟ มี
ส่วนประกอบของคาเฟอีน จะทำให้ร่างกายขับ แคลเซียมออกทางปัสสาวะเพิ่มมากขึ้น

โภชนาการเพื่อป้องกันและรักษาโรคกระดูกพรุน

6.การหลีกเลี่ยงหรืองดบริโภคน้ำอัดลม เนื่องจากมีส่วนผสมของฟอสฟอรัสสูง ฟอสฟอรัส
จะรวมตัวกับแคลเซียมในร่างกาย ทำให้ระดับแคลเซียมในเลือดเสียสมดุล  จึงทำให้แคลเซียมใ
นร่างกายลดลง

7. การหลีกเลี่ยงหรืองดบริโภคสุรา แอลกอฮอล์จะขัดขวางการดูดซึมแคลเซียมในร่างกาย
 ทำให้ร่างกายขับแคลเซียมออกทางปัสสาวะเพิ่มมากขึ้น  

8.การหลีกเลี่ยงหรืองดสูบบุหรี่เพราะนิโคตีนในบุหรี่จะขัดขวางการนำแคลเซียมไปใช้  

9. การหลีกเลี่ยงหรืองดบริโภคยาบางชนิด เช่น ยาลดกรดในกระเพาะอาหารที่มีส่วนผสม
ของอลูมิเนียมไฮดรอกไซด์  ยาบางประเภท เช่น ยาสเตรียรอยด์ ยารักษาโรคเบาหวาน ยาป้องกัน
อาการชัก ฮอร์โมนธัยรอยด์ เฮพาริน มีผลทำให้การดูดซึมแคลเซียมในร่างกายลดลง และทำ
ให้มีการขับแคลเซียมออกทางปัสสาวะเพิ่มมากขึ้น 


การรักษาโรค ตรวจเช็คปัสสาวะด้วยตัวเอง 28.8.12


สุขภาพผู้หญิง
สุขภาพผู้ชาย สุขภาพเด็ก สุขภาพวัยรุ่น ผู้สูงอายุ FoodHealth
ลดน้ำหนัก ออกกำลังกาย ผิว ดวงตา ผม ทำงาน การนอน พระพุทธศาสนา



Copyright2010©remahealth.com All rights reserved by RMWD