หน้าต่างสุขภาพ



 

Custom Search

 

Idocs Guide to HTMLControl your Emotion

ข้อคิด คำคม พระชยสาโร3

ทางพุทธศาสนาสอนว่าอยากได้ผลต้องสร้างเหตุ บางศาสนาสอนว่าสร้างเหตุยังไม่พอ
ยังจะต้องมีสิ่งศักดิ์สิทธิ์โปรดปรานจึงจะได้ผล บางศาสนาสอนว่าไม่ต้องสร้างเหตุก็ได้
ขอให้สิ่งศักดิ์โปรดปรานอย่างเดียวก็พอ

ทางพุทธเราบอกว่าไม่ต้องเถียงในระดับปรัชญาก็ได้ เอาของรอบตัวที่เป็นรูปธรรมเป็น
เครื่องพิสูจน์ เช่น ต้องการน้ำร้อน พุทธศาสนาสอนว่าจุดไฟ ตั้งกาน้ำเย็นก็จะกลาย
เป็นน้ำร้อนโดยไม่ต้องอ้อนวอนใคร แต่ถ้าไม่ตั้งกาไว้เลย อ้อนวอนเท่าไรมันก็ไม่ร้อน


ข้อคิดคำคมพระชยสาโร


ข้อคิด คำคม พระชยสาโร
ชาวนาแผ้วถางทุ่งนาเพื่อเตรียมเพาะปลูกเป็นครั้งแรกย่อมเจออุปสรรคมากมาย อาจจะ
ต้องขุดรากไม้ลึกเกินกว่าที่คาดไว้ บางครั้งก็ต้องเจอก้อนหินที่ซ่อนอยู่ในดิน บางก้อนก็เล็ก
แต่บางก้อนก็ใหญ่โตใช่เล่น ชาวนาอดทนเพราะรู้ดีว่า หากต้องการเพาะปลูกพืชพันธุ์ให้
ได้ผลดี เขาย่อมไม่มีทางเลือกอื่น

ขอให้เราอดทนพากเพียรในการเจริญภาวนาเพาะปลูกพืชพันธุ์ในท้องทุ่งทางจิต อย่าปล่อย
ให้ตัวเองโกรธเวลาเจอรากไม้หรือก้อนหินที่ซ่อนอยู่ในใจเพราะไม่มีใครที่ทำงานนี้เสร็จแล้วจะ
นึกเสียดายวันเวลาตลอดจนแรงกายแรงใจที่ทุ่มเทลงไป

ในทางตรงกันข้าม เมื่อย้อนกลับไปพิจารณาความอุตสาหะพากเพียรเทียบกับผลที่ได้รับ
ครูบาอาจารย์ผู้เข้าถึงธรรมทั้งหลายย่อมยืนยันว่า ต่อให้ต้องอดทนกับความยากลำบาก
กว่านั้นสักร้อยเท่าหรือพันเท่า ผลที่ได้รับก็ยังคุ้มค่า



Sticker line

ข้อคิด คำคม พระชยสาโร
เมื่อไหร่ก็ตามที่เรามีความคิดยึดมั่นในตัวตนไม่ว่าจะเหนือกว่า ด้อยกว่า หรือเสมอกันกับผู้อื่น
เมื่อนั้นเราก็ติดอยู่ในกับดักของมานะ

กิเลสที่เรียกว่า 'มานะ' มีรากฐานจากความคิดสองลักษณะ ลักษณะแรกเป็นความคิดเปรียบ
เทียบ อีกลักษณะเป็นการชูป้ายประกาศ เราชอบคิดเปรียบเทียบตนเองกับผู้อื่นและชอบชูตัว
ตนดั่งป้ายประกาศ ราวจะบอกใครๆว่าเราเป็นเช่นไร

ข้อคิดคำคมพระชยสาโร

ข้อคิด คำคม พระชยสาโร
ความเบื่อนี้เป็นเงาของความตื่นเต้น ยิ่งติดความตื่นเต้นยิ่งต้องเจอกับความเบื่อ ปัญหาก็คือ
คนส่วนใหญ่อยากจะมีชีวิตที่มีความตื่นเต้นโดยไม่ต้องเจอความเบื่อเลย แต่มันเป็นไปไม่ได้
ความเบื่อก็เกิดขึ้นในเมื่อเรารู้สึกว่าสิ่งที่กำลังทำอยู่ไม่ให้ความตื่นเต้นหรือความสนุกอย่าง
ที่เราต้องการหรือเท่าที่เราเคยชิน วิธีแก้ของคนส่วนใหญ่เมื่อเบื่อก็หาอะไรสนุกหรือตื่นเต้น
เพื่อกลบเกลื่อนความเบื่อ ซึ่งเป็นเหตุที่จะต้องเจอความเบื่ออีกครั้งหนึ่งในอีกไม่นาน มันจึง
เป็นวัฏฏะอยู่อย่างนั้น

เราทำอะไรก็แล้วแต่ จะต้องมีบางช่วงที่ไม่สนุก เวลานั้นเราต้องใช้ปัญญาพิจารณาในทาง
ที่จะทำให้มีกำลังใจ เช่น ทบทวนผลงานที่ต้องการ และปัญหาที่จะเกิดขึ้นจากการทำงาน
ไม่สำเร็จหรือฉาบฉวย

นอกจากนั้นต้องตั้งสติดูความเบื่อว่าเวลาเบื่อความรู้สึกในกายมีตรงไหน อาการของกาย
ที่เกิดขึ้นในขณะที่รู้สึกเบื่อ ดูตรงนั้น ผ่อนคลายตรงนั้น จะช่วยบรรเทาอาหารเบื่อใน
ระดับหนึ่ง

ในขณะเดียวกันดูอาการของจิตขณะที่เบื่อให้เห็นว่าสักแต่ว่าอารมณ์ที่จรเข้ามาว่า ‘เจ้า
เบื่อมาเยี่ยมอีกแล้ว’ อย่าไปยินดีต้อนรับ ดูมันไป รู้มันไป ไม่นานความเบื่อจะเบื่อเรา แล้ว
จะหนีไปเอง

ข้อคิด คำคม พระชยสาโร
วิชาหนึ่งที่นักปฏิบัติธรรมควรจะให้ความสำคัญระหว่างการภาวนาคือวิชาว่าด้วยเรื่องแรง
ดลบันดาลใจ

แรงดลบันดาลใจ หนึ่งมีพลังและสองประกอบด้วยสัมมาทิฏฐิเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ในการ
ปฏิบัติอย่างได้ผล นักปฏิบัติจึงต้องศึกษาในเรื่องการปลูกฝังแรงดลบันดาลใจของตน
ถ้ายังไม่มี และดูแลรักษาเมื่อมีแล้ว ถ้ามัวแต่หวังกำลังใจจากภายนอก การปฏิบัติของ
เราก็คงไม่สม่ำเสมอ ถ้าเราได้วิชานี้แล้วไปที่ไหนการปฏิบัติก็ไม่ย่อหย่อน

แรงดลบันดาลใจที่เราต้องการท่านให้ชื่อว่าฉันทะหรือธรรมฉันทะ อุปสรรคต่อการสร้าง
ฉันทะขั้นหยาบก็คือความเบื่อหน่ายในการปฏิบัติและความขี้เกียจขี้คร้าน แต่อุปสรรค
ขั้นละเอียดที่น่ากลัวและเป็นปฏิปักษ์ต่อธรรมฉันทะโดยตรงก็คือตัณหา

ตัณหาคือแรงดลบันดาลใจที่เป็นกิเลสคือทำให้จิตเศร้าหมอง ธรรมฉันทะคือแรงดลบัน
ดาลใจที่ปลอดจากกิเลส ข้อสังเกตง่ายๆคือตัณหามุ่งที่ผลงาน ฉันทะมุ่งที่การสร้างเหต
ุให้เกิดผล เช่นอยากได้ความสงบคือตัณหา อยากฝึกจิตให้สงบคือฉันทะ มีตัณหาเมื่อ
ไหร่สงบไม่ได้ มีฉันทะเมื่อไหร่ความสงบเป็นที่หวังได้

อย่างไรก็ตามในเมื่อตัณหาและฉันทะเป็นเรื่องแรงดลบันดาลใจทั้งคู่การที่เราจะแปลง
ตัณหาให้เป็นฉันทะได้ก็ไม่ยากนัก แต่ในขณะเดียวกัน ฉันทะเสื่อมเป็นตัณหาได้ง่าย
เหมือนกัน เราจึงต้องตั้งสติจนสามารถแยกแยะสองข้อนี้ออกจากกันให้ได้ชัดเจน


พระพุทธศาสนา
20618 ข้อคิดคำคมพระชยสาโร1 ข้อคิดคำคมพระชยสาโร2
ข้อคิดคำคมพระชยสาโร
https://www.jayasaro.panyaprateep.org/

สุขภาพผู้หญิง สุขภาพผู้ชาย สุขภาพเด็ก สุขภาพวัยรุ่น ผู้สูงอายุ การรักษาโรค
ลดน้ำหนัก ออกกำลังกาย ผิว ดวงตา ผม ทำงาน การนอน FoodHealth





Copyright2010©remahealth.com All rights reserved by RMWD