สุขภาพ
ภัยต่อผิวที่มากับฝน

บทความพระพุทธ
สุขภาพดีการเจริญสต
ดูแลสุขภาพธัมมจักกัปป
อาหารสุขภาพหลวงปู่โต
อาหารเสริมการเพ่งกสิน 
สมุนไพรอาทิตตปริยาย
บทความอื่น 

สุขภาพดีบทความสุขภาพ
+เคล็ดลับหน้าใส
+เคล็ดลับลดนน.
+Article Health
หนังสือสุขภาพ
+Rema Books 

สมุนไพรไทยสมุนไพร
+
มะตูม
+กระเทียม
+ขมิ้นชัน
+ขิง
+ตำลึง
+ตะไคร้
+กล้วยหอม
+อินทผลัม 
+เกาลัด
+กระวาน
+มะขาม
  สุขภาพบทความสุขภาพ

+ผลไม้น้ำตาลสูง
+น้ำส้ม-แปรงฟัน
+อาหารลดมะเร็ง
+ป.ย.เปลือกไข่ 
+
เปลือกส้มมีปย.
อ่านบทความอื่น

บทความสุขภาพ อาหารสุขภาพ เพื่อสุขภาพดีดี
Custom Search
ภัยต่อผิวที่มากับฝน

 

ภัยต่อผิวหนังในฤดูฝน ในช่วงฤดูฝนอากาศที่อับชื้นซึ่งเอื้ออำนวย
ให้เชื้อราเจริญเติบโตได้ดียิ่งขึ้น ปัญหาที่พบเสมอในช่วงหน้าฝน มักมีสาเหตุมาจากเชื้อรา ผื่นผิวหนังอักเสบจากเชื้อรา ซึ่งมีได้หลาย
รูปแบบ ได้แก่

ภัยต่อผิวที่มากับฝน

1.โรคเกลื้อน จะเป็นวงด่าง ๆ สีขาว หรือสีเนื้อในบางคนอาจขึ้นเป็น
วงสีน้ำตาล ร่วมกับมีขุยสีขาวเล็ก ๆ มักเกิดขึ้นบนผิวหนัง บริเวณหน้า
อกและลำตัว อาจมีอาการคันร่วมด้วยได้ นอกจากดูไม่สวยงามแล้ว ยังทำให้เสียบุคลิก โรคเกลื้อนเกิดจากเชื้อราชนิดหนึ่งที่เรียกว่า Malassezia furfur สามารถพบได้บนผิวหนังของคนทั่วไป แต่ปกติ
แล้วไม่ก่อโรค ยกเว้นในสภาวะแวดล้อมที่เหมาะสม เช่น คนที่ออก
กำลังกาย เหงื่อออก หรือตากฝน แล้วไม่ยอมอาบน้ำ ร่างกายชื้นแฉะ
อยู่เป็นเวลานาน ทำให้เชื้อเพิ่มจำนวนจนทำให้เกิดผื่นลักษณะ
ดังกล่าวขึ้น


 2. โรคเชื้อราแคนดิดา ในคนที่ภูมิคุ้มกันไม่ค่อยดี เช่น ผู้ที่เป็นเบา
หวาน หรือคนที่มีน้ำหนักมากอาจเกิดผื่นสีแดงแฉะขึ้นตามบริเวณข้อ
พับ เช่น รักแร้ ขาหนีบ หรือใต้ราวนม ร่วมกับมีอาการคันมาก สาเหตุ
เกิดจากการติดเชื้อยีสต์ในกลุ่มแคนดิดา (Candida)ซึ่งสามารถรักษา
ให้หายได้ โดยการทายาฆ่าเชื้อราทั่วไป แต่มักเป็นซ้ำได้บ่อยเพราะ
ยีสต์ชนิดนี้พบได้ในร่างกายของคนเรา เช่น บริเวณช่องปาก ระบบ
ทางเดินอาหารและช่องคลอด

 3. โรคกลาก เกิดจากเชื้อรากลุ่ม Dermatophytes ซึ่งอยู่ตามสิ่ง
แวดล้อม เช่น หิน ดิน ทราย รวมทั้งในสัตว์เลี้ยง เช่น สุนัขและแมว จะเจริญเติบโตและแพร่พันธุ์ได้ดีมากในอากาศร้อนชื้น อาจทำให้เกิด
การติดเชื้อกลากได้หลายตำแหน่ง ได้แก่

3.1 โรคน้ำกัดเท้าหรือเชื้อราที่เท้า ช่วงที่ฝนตกมากๆ บางพื้นที่อาจ
มีน้ำท่วมขัง หรือเวลาฝนตกนานเป็นชั่วโมง ทำให้ต้องเดินย่ำน้ำชื้น
แฉะเป็นเวลานานอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ และหากยังไม่รีบทำความ
สะอาดเท้า ผ่านไปสักระยะหนึ่งอาจพบว่าผิวตามซอกนิ้วเท้าลอกเป็น
ขุยขาว ๆ หรือเปียกยุ่ย หรืออาจถึงขั้นเป็นแผล มีน้ำเหลืองแฉะที่ผิว การรักษาโรคราที่เท้าควรล้างเท้าให้สะอาดด้วยสบู่และเช็ดให้แห้งใส่
ถุงเท้าที่สะอาดและไม่เปียกชื้นใช้ครีมกันเชื้อราหรือโรยแป้งฝุ่นที่เท้า
 3.2  สังคัง คือการติดเชื้อกลากบริเวณขาหนีบ ต้นขา ข้อพับต้นขา 
เริ่มต้นเป็นตุ่มแดงเล็กๆ ค่อย ๆ ขยายกว้างออกจนเป็นวงกลม เห็นเป็น
ขอบเขตชัดเจน ผิวจะแห้งและอาจมีขุยบริเวณตรงกลางมักเป็นผิวหนัง
ปกติมีอาการคัน วงมีขนาดตั้งแต่เล็กถึงขนาดใหญ่
3.3 กลากที่ศรีษะ พบในเด็กมากกว่าผู้ใหญ่ ส่วนมากเห็นเป็นวงกลม ขอบเขตชัดเจน มีสะเก็ดหรือขุย บริเวณนั้นอาจมีผมร่วงเป็นหย่อมๆ และจะพบผมหักร่วมด้วย บางครั้งพบลักษณะที่เรียกว่าชันนะตุ ซึ่งเป็น
กลากชนิดที่มีการอักเสบมากอาจพบเป็นก้อนใหญ่แล้วแตกออกมีน้ำ
เหลือง แห้งกรังได้
3.4 โรคติดเชื้อราที่เล็บ ส่วนมากพบในผู้ใหญ เล็บของคนแก่ซึ่งยาว
ช้าจะมีโอกาสติดเชื้อราได้ง่าย อาจพบที่ตรงปลายเล็บหรือด้านข้าง มีสีขาวหรือเหลืองปนน้ำตาลต่อมาใต้เล็บจะหนาขึ้นและดันเล็บให้ยก
ขึ้นหรืออาจจะพบที่ผิวบนของเล็บก็ได้ ลักษณะเป็นดวงสีขาว หรือมีขุย
ขาวๆ อยู่ที่ส่วนบนของเล็บ ส่วนกลากที่โคนเล็บพบน้อย เริ่มแรกจะมี
สีขาวหรือขาวปนน้ำตาลเกิดขึ้นที่ส่วนโคนเล็บ ต่อมาจะขยายออกจน
เป็นทั้งเล็บ ต้องรักษาด้วยการกินยาฆ่าเชื้อรา
  

สาเหตุของโรคที่มากับฝนส่วนใหญ่มาจากการย่ำน้ำสกปรกหรือปล่อย
ให้ผิวหนังอับชื้นอยู่เป็นระยะเวลานานทำให้เชื้อโรคซึ่งพบได้ตามสิ่ง
แวดล้อมทั่วไปเพิ่มจำนวนขึ้น จนก่อให้เกิดโรค ดังนั้นการป้องกันอัน
ดับแรกคือหลีกเลี่ยงการเหยียบย่ำน้ำ หรือตากฝน ถ้าหลีกเลี่ยงไม่ได้ เมื่อกลับถึงที่พักควรรีบถอดเสื้อผ้า แล้วอาบน้ำทำความสะอาดร่างกาย โดยใช้สบู่หรือสารทำความสะอาดทั่วไปไม่จำเป็นต้องใช้น้ำยาฆ่าเชื้อ
ชนิดพิเศษ

น้ำทำความสะอาดร่างกาย โดยใช้สบู่หรือสารทำความสะอาดทั่วไป ไม่จำเป็นต้องใช้น้ำยาฆ่าเชื้อชนิดพิเศษ แต่อย่างใดเพราะอาจแรงเกิน
ไป เสร็จแล้วใช้ผ้าซับหรือใช้พัดลมเป่าให้แห้ง การโรยแป้งฝุ่นสามารถ
ช่วยลดความชื้นและการเสียดสีได้เสื้อผ้าและถุงเท้าที่ใช้ควรทำจาก
วัสดุธรรมชาติ เช่น ผ้าฝ้ายที่ไม่หนาจนเกินไปเพื่อให้ระบายอากาศได้ดี

หน้าฝนผ้ายีนส์ เสื้อผ้าหนังจะแห้งยากทำให้เกิดความอับชื้นได้ง่าย จึงควรระวังเป็นพิเศษนอกจากนี้แล้วการใส่รองเท้าแตะบ้างก็ช่วยลด
โอกาสการติดเชื้อราที่เท้าได้ เช่นกัน สิ่งสำคัญคือ เมื่อเกิดความผิด
ปกติของผิวหนังควรรีบปรึกษาแพทย์เฉพาะทางผิวหนังเพื่อทำการ วินิจฉัยและให้การรักษาอย่างเหมาะสม

ข้อมูลอ้างอิงจาก กรุงเทพธุรกิจ พญ. กนกวรรณ เศรษฐพงศ์วนิช สถาบันโรคผิวหนังและสมาคมแพทย์ผิวหนังแห่งประเทศไทย

18814

บทความสุขภาพ สมุนไพร อาหารสุขภาพ

สุขภาพดีดีหน้าต่างสุขภาพ

+สุขภาพผู้หญิง
+สุขภาพผู้ชาย
+สุขภาพเด็ก
+สุขภาพวัยรุ่น
+ผู้สูงอายุ 
สุขภาพดี
อาหารสุขภาพสถานที่เที่ยวไทย

โรคภัยไข้เจ็บการรักษาโรค
+
ควบคุมความดัน+รักษาการนอนกรน
+
นมกับโรคภูมิแพ
+
ข้อเข่าเสื่อม
+10 วิธีฝึกสมอง


อาหารสุขภาพอาหารสุขภาพ
+ป.ย.น้ำสับปะรด
+
น้ำมะเขือเทศ
+ยิ่งกินยิ่งเครียด
+อาหารลดร้อน
+กินแป้งไร้ีพุงยังไง
+ข้าวเหนียว
+ป.ย.น้ำมันปลา

สุขภาพอาหารสุขภาพบทความสุขภาพ
ลดน้ำหนัก
+ยาลดอ้วน
+กินสมาธิ
+เทคนิคพรางหุ่น
+ปย.การว่ายน้ำ
+แขม่วท้องลดพุง 
อ่านบทความอื่นสุขภาพผู้สูงอายุ

+อาหารผู้สูงอาย
+
อาชีพผู้สูงอายุ
+อัลไซเมอร์
+ผู้หญิงวัยทอง 
+ผู้ชายวัยทอง 
อ่านบทความอื่น